Advertisements
Miss Dior

ไขข้อข้องใจเรื่องกรดไหลย้อน โดยผู้เชี่ยวชาญ

กรดไหลย้อน

ปัญหากรดไหลย้อน แก้ที่ต้นเหตุ

โรคกรดไหลย้อนเป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร จนทำให้เกิดอาการที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และส่งผลต่อหลอดอาหาร ได้แก่ ความรู้สึกแสบร้อนตั้งแต่บริเวณลิ้นปี่เรื่อยขึ้นมาจนถึงบริเวณหน้าอกและคอ อาการนี้จะเกิดมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก การยกของหนัก และการนอนทันทีหลังการรับประทานอาหาร

โรคกรดไหลย้อน เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อย เป็นโรคที่เกี่ยวกับการรับประทานอาหารโดยตรง เนื่องจากมีน้ำย่อยในกระเพาะล้นขึ้นมาอยู่ในหลอดอาหารส่วนบน จนทำให้แสบร้อนตั้งแต่บริเวณลิ้นปี่เรื่อยขึ้นมาจนถึงบริเวณหน้าอกและคอ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน หรือแม้แต่ขณะรับประทานอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองจากน้ำย่อยที่เป็นกรดจากกระเพาะอาการ เกิดหลอดอาหารอักเสบ หรือลุกลามไปถึงขั้นมีแผลในบริเวณหลอดอาหาร และถ้ากรดไหลย้อนขึ้นมาอยู่บริเวณกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนแล้ว ก็อาจจะทำให้เกิดอาการภายนอกหลอดอาหารที่รู้สึกผิดปกติได้ เช่นอาการทางปอด หรือรวมไปถึงอาการทางลำคอ และกล่องเสียงได้ด้วยเช่นเดียวกัน

อาการแสบร้อนลิ้นปี่ถึงหน้าอกและลำคอ

กรดไหลย้อน

อาการของโรคกรดไหลย้อน ยังคงสร้างความรำคาญใจให้กับผู้ที่เป็นไม่น้อยและจะทรมานอย่างมากหากอาการลุกลามและไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตนอย่างถูกวิธี โดยที่อาการส่วนใหญ่นั้น มักจะเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารมื้อหนัก และมีการโน้มตัวไปข้างหน้าหรือยกของหนัก หรือนอนหงาย อาจจะพบว่าเกิดอาการกลืนแล้วเจ็บหรือเรอบ่อย ไอเรื้อรังโดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนกลางคืน จะมีเสียงแหบเรื้อรัง เจ็บคอและรู้สึกระคายเคืองทางเดินหายใจและเกิดอาการเจ็บหน้าอก โดยที่ไม่มีปัญหาโรคหัวใจ นอกจากนี้แล้วยังพบว่าโรคกรดไหลย้อนนั้น อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือโรคหอบหืดขึ้นมาด้วย

Advertisements

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีอาการแสบหน้าอกหรือรวมไปถึงการเรอเปรี้ยว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้วินิจฉัยแล้วว่า ผู้ป่วยในสภาวะเหล่านี้ ในการรักษาเบื้องต้นต้องติดตามเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด เพราะผู้ป่วยบางราย อาจมีความจำเป็นจะต้องรักษาด้วยการตรวจแบบพิเศษ โดยการส่องกล้องตรวจดูระบบทางเดินอาหาร หรือการกลืนแป้งเพื่อตรวจวินิจฉัย และชี้วัดถึงการบีบตัวของหลอดอาหารอย่างละเอียด รวมถึงการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร ซึ่งพบว่าจะมีผลที่ค่อนข้างแม่นยำมากที่สุดในปัจจุบัน

ฉะนั้นการดูแลและการสำรวจร่างกายของตัวเองเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ได้ผลดีเป็นอย่างมาก ไม่ควรที่จะมองข้ามเป็นอันเด็ดขาด

แนวทางการปฏิบัติ ถ้าเป็นโรคกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน

สำหรับแนวทางการปฏิบัติ หลังจากที่สำรวจและพบว่าตนเองเป็นกรดไหลย้อน และการวินิจฉัยอย่างแม่นยำแล้ว ควรที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อสามารถลดความรุนแรงที่อาจจะก่อให้เกิดขึ้นได้ และรวมไปถึงการรักษาอย่างทันท่วงที และเพิ่มอาการให้ดีมากยิ่งขึ้น

  • ควรหลีกเลี่ยง การดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน รวมถึงอาหารรสจัด อาหารรสเผ็ด อาหารที่มีไขมันสูง และอาหารทอด
  • ควรงดและเลิกสูบบุหรี่
  • ควรรับประทานอาหารย่อยง่าย
  • ไม่ควรรับประทานอาหารมากจนเกินความจำเป็นในแต่ละมื้อ
  • ไม่ควรดื่มเครื่องดื่ม ที่มีการผสมผสานกับแอลกอฮอล์
  • ไม่ควรสวมเสื้อผ้า ที่รัดบริเวณหน้าท้องจนเกินไป หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากควรออกกําลังกายลดน้ําหนัก
  • ไม่ควรรับประทานอาหารแล้วเข้านอนทันที ควรเข้านอนหลังรับประทานอาหารแล้ว 2-3 ชั่วโมง ควรลุกยืน เดินไปเดินมาในบริเวณบ้านเพื่อให้ลำไส้ขยับ

โรคกรดไหลย้อน รักษานานไหม

กรดไหลย้อน

โดยทั่วไปแล้วนั้นทางการแพทย์ จะให้ยากินเพื่อลดการหลั่งของกรดไหลย้อนเป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ โดยที่ผู้ป่วยจะมีโอกาสกลับมามีอาการดังกล่าวได้อีก ดังนั้นการรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้แพทย์ผู้ชำนาญการจะให้ยากลุ่มเดิมในระยะเวลา 4 ถึง 8 สัปดาห์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการรักษาตามอาการเดิม สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังควรที่จะพิจารณาในการรักษาแบบส่องกล้องหรือผ่าตัดอีกครั้ง เพื่อการตรวจสอบและได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิดที่สุด

กรดไหลย้อน ไม่ใช่เรื่องน่ากังวล

สำหรับกรดไหลย้อน เป็นโรคที่ทำให้เกิดความกังวลใจ ไม่ใช่โรคร้ายแรง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แต่ก็ไม่ควรชะล่าใจปล่อยไว้จนมีอาการเรื้อรัง เพราะอาจจะมีโรคแทรกซ้อนเข้ามาได้ แต่อย่างไรก็ตามโรคที่สร้างความรำคาญใจก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากเราเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และทำการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและชำนาญการในกรณีเรื้อรัง

No Comments Yet

Leave a Reply

Your email address will not be published.